วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ร้าน ป.ปลาตากลม บางแสน ร้านขายปลาที่บางแสน

ร้าน ป.ปลาตากลม บางแสน เป็นร้านขายปลาสวยงามในบางแสน อยู่ในซอยชบาหมูกระทะ ร้าน ป.ปลาตากลมจำหน่ายปลาสวยงามมานานกว่า 5 ปีแล้วในบางแสน จังหวัดชลบุรี มีสินค้ามากมายหลายอย่างให้ผู้ที่รักและชื่นชอบการเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำ ได้เลือกสรรกัน ไม่ว่าจะเป็น ปลาเงิน ปลาทอง สิงห์ ปลาหมอสี ปลาปอมปาดัวร์ ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลากัด กุ้งเครฟิช เต่าญี่ปุ่น และอุปกรณ์การเลี้ยงปลา ตู้ปลา ปั้มออกซิเจน น้ำยากำจัดตะไคร่ อาหารสำหรับเลี้ยปลา อาหารสดสำหรับปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น ลูกปลา , หนอนนก , หนอนแดง , ไรแดง เป็นต้น สำหรับผู้ที่สนใจอยากมาเที่ยวและซื้อปลา สามารถมาที่ร้านได้ค่ะ ยินดีต้อนรับค่ะ

ร้าน ป.ปลาตากลม บางแสน เปิดทุกวัน เปิด 9.00 - 24.00 น.





วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ปลาเสือตอ

ปลาเสือตอ เป็นปลาที่คนนิยมเลี้ยงกันมาก เนื่องจากมีสีสันสวยงาม มีลักษณะเด่น คือ ชอบลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ และหัวจะทิ่มลงพื้นเล็กน้อย ปลาเสือตออยู่ในนาม "Siamese Tigerfish" โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Coius Microlepis" เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีตอไม้ จึงได้มีชื่อเรียกว่า "ปลาเสือตอ" ปลาชนิดนี้พบได้ในประเทศบริเวณอินโดจีน ได้แก่ ไทย เขมร พม่า และอินโดนีเซีย ปัจจุบันปลาเสือตอพบได้น้อยมากในธรรมชาติ ปลาเสือตอเป็นปลาที่มีลำตัวเล็ก ทรงแบน แนวสันหลังโค้ง ลำตัวมีสีครีมออกเหลือง โดยมีลายแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 6 แถบ เมื่อโตเต็มที่ จะมีความยาวได้ถึงประมาณ 40 ซ.ม. อาหารของปลาเสือตอ คือ อาหารที่มีชีวิตและเคลื่อนไหวได้ ไม่อยู่นิ่ง ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์น้ำจืด 2 สายพันธุ์และสายพันธุ์น้ำกร่อย 1 สายพันธุ์

ปลาเสือตอลายใหญ่



ปลาเสือตอลายเล็ก



ปลากะพงลาย


แผนที่ร้าน ป.ปลาตากลม บางแสน

ขอเชิญพี่น้องชาวบางแสน นิสิตนักศึกษา และคนที่รักปลา อยากเลี้ยงปลาสวยงาม เลือกซื้อและชมสินค้าที่ร้าน ป.ปลาตากลม บางแสน ทางร้านของเรา จำหน่ายปลาสวยงามทุกชนิด อุปกรณ์ อาหาร ยา และตู้ปลา รวมทั้งให้คำปรึกษาในการเลี้ยงปลา อย่าลืมมาแวะที่ร้าน ป.ปลาตากลม บ้างน่ะคะ ตามแผนที่ด้านล่างนี้ ร้านเปิดทุกวัน 9.00 - 24.00 น. โทรสอบถามได้ที่พี่แมว : 084-0226608

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การประกวดปลากัดสวยงาม




สำหรับงานประกวดปลาสวยงาม ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1-9 ตุลาคม 2554 นี้ ทางร้านของเรามีข่าวมาฝากสำหรับผู้ที่เลี้ยงปลากัดอยู่ต้องการจะส่งปลาของตน เองเข้าประกวดในงานที่จัดขึ้นนี้ ก็สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี้เลยครับ

กำหนดส่งปลากัดสวยงาม วันที่ 29 กันยายน 2554 ตั้งแต่เวลา 14.00 - 17.00 น.

- กรรมการตัดสิน วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เวลา 11.00 น.
- รับปลากัดกลับวันที่ 9 ตุลาคม 2554 เวลา 19.00 - 21.00 น.

รางวัลการประกวดปลาสวยงาม

รางวัล BEST IN SHOW ได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท

รางวัล RESERVE BEST IN SHOW ได้รับถ้วยพระราชทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ พร้อมเงินรางวัล ๆ ละ 30,000 บาท

รางวัลยอดเยี่ยม ได้รับถ้วยประทาน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยเกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้รับถ้วยเกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 2,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้รับถ้วยเกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 1,000 บาท

รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้รับใบประกาศนีย์บัตร พร้อมเงินรางวัล 500 บาท

ค่าสมัคร ตัวละ 120 บาท ทุกประเภท

1.ปลากัด แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ 13 ประเภท ดังนี้

1.1 ปลากัดครีบสั้น
1.1.1 ปลากัดครีบสั้น หางเดี่ยว กลุ่มสีอ่อน
1.1.2 ปลากัดครีบสั้น หางเดี่ยว กลุ่มสีเข้ม
1.1.3 ปลากัดครีบสั้น หางเดี่ยว กลุ่มหลากสี (แฟนซี)
1.1.4 ปลากัดครีบสั้น หางเดี่ยว หางพระจันทร์ครึ่งดวง กลุ่มสีอ่อน
1.1.5 ปลากัดครีบสั้น หางเดี่ยว หางพระจันทร์ครึ่งดวง กลุ่มสีเข้ม
1.1.6 ปลากัดครีบสั้น หางเดี่ยว หางพระจันทร์ครึ่งดวง กลุ่มหลากสี (แฟนซี)
1.1.7 ปลากัดครีบสั้น หางคู่ รวมทุกประเภทสี
1.1.8 ปลากัดยักษ์ครีบสั้น หางคู่ รวมทุกประเภทหางและสี
1.1.9 ปลากัดยักษ์ครีบสั้น หางพระจันทร์ครึ่งดวง รวมทุกประเภทสี
(ปลากัดยักษ์วัดจากปากถึงโคลนหาง ตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป)

1.2 ปลากัดครีบยาว
1.2.1. ปลากัดครีบยาว หางเดี่ยว รวมทุกประเภทสี
1.2.2. ปลากัดครีบยาว หางคู่ รวมทุกประเภทสี
1.2.3. ปลากัดครีบยาว หางจักร หางหนามเตยหรือหางมงกุฏ รวมทุกประเภทสี
1.2.4. ปลากัดครีบยาว หางพระจันทร์ครึ่งดวง(Haif Moon) รวมทุกประเภทสี

หมายเหตุ.
- กลุ่มปลาสีอ่อน หมายเช่น สีขาว สีเหลือง สีส้ม สีเทาอ่อน สีทอง สีใส
- กลุ่มปลาสีเข้ม หมายเช่น สีแดง สีดำ สีน้ำเงิน สีเขียว สีคราม สีทองแดง
- สำหรับปลาที่จัดประกวดทุกประเภทที่มีผู้ส่งประกวดจำนวนเกินกว่า 30 ตัวหรือตู้ ต่อ 1 ประเภทจำนวนที่เกินทุก 5 ตัว จะเพิ่มรางวัลชมเชยให้อีก 1 รางวัล

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

Albino Silver Arowana ปลามังกร อะโรวาน่า

คลิป Albino Silver Arowana

รูปปลากัดสวย ๆ ระดับเทพ

เชิญชมปลากัดสวย ๆ งาม ๆ ระดับรางวัลกันได้เลยครับ

โรคท้องมาร คืออะไร

โรคท้องมารหรือโรคท้องมาน หรือโรคที่ทำให้ปลามีลักษณะท้องป่อง เกล็ด ตั้ง เหมือนว่าท้องมันจะระเบิด และก็ใกล้จะตาย ซึ่งเป็นโรคที่หลาย ๆ คนเจอกันมาบ้างแล้วสำหรับโรคนี้ และบางคนอาจจยังไม่ทราบว่าโรคนี้แท้จริงแล้วคืออะไรและมีวิธีการรักษาอย่างไร เรามาดูกันเลยดีครับ โรคนี้มาจากเชื้อไวรัส ปลาที่เป็นโรคท้องมารเกล็ดจะชี้ตั้งขึ้น ส่วนท้องจะบวมเนื่องจากมีของเหลวภายในช่องท้อง และปลาจะไม่กินอาหาร ส่วนใหญ่มักพบโรคนี้มากในปลากัด เนื่องจากผู้เลี้ยงให้อาหารมากเกินไปจนทำให้ปลาท้องอืด ปลาจึงย่อยอาหารไม่ได้

วิธีรักษาโรคท้องมาร
การรักษาเราจะใช้ "ดีเกลือ" คุณสมบัติของดีเกลือ คือ เป็นเกลือที่มีความเข้มข้นของความเค็มมากกว่าเกลือ มีลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้ถ่ายท้อง และแก้อาการท้องผูกในคนได้ และนำมาใช้ในปลาได้อีกด้วย สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนโบราณ สำหรับการใช้รักษา ให้เรานำดีเกลือใส่ลงในภาชนะที่ปลาอยู่ ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ จากนั้นสังเกตอาการของปลา หลังจากผ่านไปสักระยะนึง ถ้าปลาขับถ่ายออกมา และท้องไม่บวมก็แสดงว่าปลาหายจากการเป็นโรคนี้แล้ว ทั้งนี้ผลการรักษาขึ่นอยู่กับระยะเวลาที่ปลาเริ่มป่วยและการใช้ดีเกลือรักษา พูดง่าย ๆ ว่าอย่าปล่อยให้ปลาของท่านเป็นโรคนี้นานเกินไป จนไม่สามารถกู้ชีวิตของน้องปลาได้

นี้คือ "ดีเกลือ"



นี้คือ "โรคท้องมาร"


รู้จักกับยามาลาไคกรีนกัน

เราอาจจะเคยได้ยินว่ามาลาไคท์กรีนนี้เป็นสารราคาถูก คำว่าราคาถูกไม่ได้หมายถึงถูกในความคิดเรานะครับ ถูกนี่หลายถึงเขาเปรียบเทียบกับสารที่ใช้รักษาโรคลักษณะเดียวกันกับมาลาไคท์กรีนในสัตว์น้ำครับ ดังนั้นการใช้มาลาไคท์กรีนอย่างฟุ่มเฟือย นอกจากจะไม่ดีต่อปลา และสุขภาพของเรา และสิ่งแวดล้อมแล้วยังเปลืองเงินอีกด้วยครับ อยากบอกว่าระวังหน่อยครับ มาลาไคท์กรีนมันเป็นสารราคาถูกที่ให้ผลในการรักษาเฉพาะโรคได้ดีมากกว่าราคาของมันเสียอีกแต่ว่า มันเป็นสารก่อมะเร็ง ยังไม่ต้องตกใจครับ มันมีวิธีใช้ และวิธีหลีกเลี่ยงง่าย ๆ จริง ๆ แล้วมาลาไคท์กรีนยังมีอีกหลาย ๆ ชื่อที่ใช้เรียกกัน เช่น วิคตอเรีย กรีน บี (Victoria green B.), นิววิคตอเรียกรีนเอ็กซ์ตร้า โอ วัน (new Victoria extra O 1), ไดมอนค์กรีน บี (diamond green B.), โซลิด กรีน โอ (solid green O) หรือไลท์กรีน เอ็น (light green N) และอีกหลาย ๆ ชื่อแต่ไม่สำคัญเพราะยังไงมันก็ถูกเรียกอย่างแพร่หลายว่ามาลาไคท์กรีน ซึ่งมันก็คือสีย้อมผ้าดี ๆ นี่เอง ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อมผ้า หนัง กระดาษ แต่ที่เราใช้ในการรักษาปลาป่วยนั้นเป็นอีกเกรดหนึ่ง เกรดสำหรับอุตสากหรรมจะมีการปนเปื้อนของทองแดง (Copper) และสังกะสี (Zinc) อยู่มากเมื่อนำมาใช้ในการรักษาปลาจะมีผลข้างเคียงของสารสูง จึงได้มีการดึงเอาทั้งสังกะสี และทองแดงออกในขั้นตอนการผลิตให้ได้เกรดสำหรับใช้ในทางชีววิทยา แต่สีย้อมผ้าไม่ทุกชนิดหรอกครับที่มีคุณสมบัติรักษาโรคปลาไม่ตายหนะ บางชนิดก็รักษาไม่ได้ด้วยซ้ำ มาลาไคท์กรีนนอกจากจะใช้รักษาปลาแล้ว ในทางวิทยาศาสตร์ทางชีวภาพยังใช้ในการย้อมเซลล์สิ่งมีชีวิตได้ดีมาก ทำให้เห็นโครงสร้างภายในเซลล์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะมันติดเซลล์ดีอย่างนี้นี่เอง เวลาที่เราเผลอให้มันหยดบนตัวเราจึงติดทนนานไปหลายวันเลย (อันตรายนะครับ ไม่จำเป็นอย่าใช้ดีกว่า) ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศไม่อนุญาติให้ใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว และในหลาย ๆ ประเทศยังแค่ห้ามใช้ในสัตว์น้ำที่เลี้ยงเพื่อรับประทาน เนื่องด้วยมันสามารถตกค้างในตัวสัตว์น้ำ และอาจจะถ่ายทอดมาสู่คนได้ สำหรับประเทศไทยก็ห้ามใช้กับปลาที่เลี้ยงเพื่อบริโภคเช่นกัน แต่ในธุรกิจการเพาะฟักลูกปลาก็ยังเห็นใช้กันอยู่ ไม่ทราบว่ากฏหมายได้รวมถึงตรงนี้หรือไม่ น่าจะมีคนออกมายืนยันผลการวิจัยในการเรื่องนี้ เพราะมันเกี่ยวโยงถึงสุขภาพคนไทยโดยตรง มาลาไคท์กรีนยังเป็นสารที่ทำให้เกิดความผิดปกติแรกเกิด (teratogenic effect) หรือจะเป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งในร่างกายสิ่งมีชีวิตนั่นเอง การที่เราใช้มาลาไคท์กรีนก็ควรระวังในการสัมผัสกับสารไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม ก่อนการใช้ก็ควรที่จะใส่ถุงมือยางที่ใช้ทำความสะอาดห้องน้ำสีส้มๆ นั่นแหละครับ หนาดีป้องกันได้แน่นอน สำหรับการนำมาใช้ในการรักษาโรคปลาโดยมากจะนิยมใช้กันอยู่ที่ระดับ 0.1 - 0.15 ppm (0.1 - 0.15 ส่วนในล้านส่วน) แล้วแช่กันไปตลอด อาจจะมีการนำฟอร์มาลินมาใช้ร่วมเข้าไปด้วยอีก 30 - 50 ppm (30 - 50 ส่วนในล้านส่วน : 3 - 5 cc. ต่อน้ำ 100 ลิตร) เพื่อใช้กำจัดโรคจุดขาว ซึ่งการใช้ฟอร์มาลินร่วมด้วยนี้ให้ผลดีมากในการรักษาโรคจุดขาว มากกว่าการใช้มาลาไคท์กรีนอย่างเดียวเสียอีก และมีพิษต่ำกว่าโดสที่ใช้มาลาไคท์กรีนอย่างเดียว ในการรักษาจุดขาว เพราะหากใช้มาลาไคท์กรีนอย่างเดียวจะต้องใช้ถึง 1 - 3 ppm (1 - 3 ส่วนในล้านส่วน) หรือ 10 - 20 เท่าเชียวนะครับ สมมุติว่าจากเดิมเราใส่แค่ 1 ฝา แต่นี้เราต้องเพิ่มเป็น 10 ฝาแทน แต่มาลาไคท์กรีนที่เป็นรูปสารละลายใส่มาในขวดขายกันทั่วไปตามร้านขายปลานั้น ไม่ต้องคำนวณอะไรให้ปวดหัว ใส่ตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ก็เท่ากับ 0.1 - 0.15 ppm อยู่แล้ว ส่วนฟอร์มาลินก็ใส่ในอัตราส่วน 3 - 5 cc. ต่อน้ำ 100 ลิตร ผสมให้เข้ากัน แล้วแช่ไว้อย่างน้อย 1 วัน แต่ไม่ควรเกิน 2 วัน จึงย้ายปลากลับไปเลี้ยงในน้ำสะอาดอีกครั้ง และควรทำซ้ำอีก 2 ครั้ง โดยรักษา 1 วัน เว้น 2 วัน ข้อควรระวังในการใช้รักษานั่นคือ อย่าใส่มาลาไคท์กรีนต่ำ หรือสูงเกินกว่าที่บอกไว้ เพราะถ้าต่ำไปเชื้อโรคไม่เป็นไรแต่ปลาเราจะเครียดแทน ถ้าใส่มากไปตายทั้งเชื้อโรค และปลา และแม้แต่ใส่ถูกต้องตามที่กำหนด ระหว่างนั้นปลาก็จะเครียดด้วยเหมือนกัน เห็นมั๊ยครับมันใช้ได้ดีแต่มันก็อันตรายเหมือนกัน สำหรับในการรักษาโรคเชื้อราก็ใช้อัตราส่วนเดียวกันนี้ได้แต่อาจจะรักษายากหน่อย เพราะเชื้อรามันทนทานมาก ในปลาบางชนิดการใช้มาลาไคท์กรีนเพื่อรักษาอาจจะเป็นการเสี่ยงเกินไป เพราะปลาเหล่านั้นแพ้มาลาไคท์กรีนอย่างมาก ซึ่งได้แก่ ปลาหนัง และปลาหนวดต่าง ๆ ชัคเกอร์, ปลาดุก, เรดเทล, แคทฟิช, ไทเกอร์ เป็นต้น รวมถึงปลาที่มีวิวัฒนาการต่ำ และปลาที่ต้องการน้ำสะอาดมาก ๆ เช่น ปลาอโรวาน่า, ปลาเสือตอ, ปลาทะเลต่าง ๆ และปลาสวยงามในเขตร้อนจะมีอาการแพ้สารตัวนี้ได้ง่ายกว่าปลาในเขตหนาว หากจะรักษาควรหลีกเลี่ยงใช้สารอย่างอื่น เช่น การใช้เพียงฟอร์มาลิน 50 ppm แช่ 24 ชม. หรือ 100 ppm แช่ 3 ชม. โดยให้อากาศเพิ่มตลอดเวลา แต่ก็ต้องระวังในการใช้ให้ดี นอกนั้นยังมีสารอื่น ๆ อีกหลายอย่าง แต่ควรถามกับสัตวแพทย์จะดีกว่า

อาการแพ้สารมาลาไคท์กรีน
มาลาไคท์กรีนจะออกฤทธิ์ที่เอนไซม์ชนิดหนึ่งในการหายใจระดับเซลล์ (respiratory enzyme) โดยเป็นพิษอย่างถาวรไม่สามารถทำให้หายจากพิษได้ เพราะเอนไซม์ได้เสียรูปไปแล้ว แถมยังทำลายแหล่งสร้างพลังงานในเซลล์อย่างไมโตคอนเดรียอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรทั้งหมดนี้เกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แรกสุดปลาที่แพ้จะเกิดอาการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leucopenia) ชั่วคราว ต่อมาอดรีนาลีนจะลดลง และปลาจะเป็นโรคเครียดไม่มีสาเหตุ (non - specific stress syndrome) ทำให้ปลาตายง่ายขึ้น เมื่อถูกกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม เช่น ถูกสารเคมีในปริมาณต่ำ ๆ ถูกกัด ตกใจ เป็นต้น อาการภายนอกที่สามารถเห็นได้คือเมื่อปลาเริ่มแพ้จะมีการหายใจต่ำลง นอนนิ่ง หรือลอยตัวนิ่ง ๆ สีตัวเปลี่ยน กระจกตาขุ่นขาว เป็นฝ้า เกิดรอยด่างที่บริเวณซี่เหงือก เบื่ออาหาร ตกใจง่าย ซึม และเมื่อกลับมาเลี้ยงในน้ำสะอาดแล้วก็ยังขึ้โรค ทั้งนี้เกิดขึ้นจากอาการระคายเคืองในตัวสารเคมี อาการแพ้นี้หากปลาเป็นแล้วจะหายยาก เป็นไปอีกนานเลย การเลี้ยง และพยาบาลจึงต้องเลี้ยงด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ อาหารที่ให้ควรเสริมวิตามินให้อย่างสม่ำเสมอ ข้อควรจำ มาลาไคท์กรีนเป็นสารที่สามารถตกค้างในตัวปลาได้เป็นเวลานาน และสามารถสะสมอยู่ในตัวปลาได้ ดังนั้นแม้จะใส่มาลาไคกรีนท์เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะทำให้ปลาตายได้จากการสะสมดังกล่าว มาลาไคท์กรีนจะเปลี่ยนเป็นสีใสได้เมื่อน้ำมีความเป็นด่าง (PH สูงขึ้น) แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้พิษของมันลดลง หากแต่เข้าสู้เซลล์ได้เหมือนปกติ และมาลาไคท์กรีนยังทำลายแบคทีเรียได้ด้วย แม้จะทำลายได้ไม่ดีนักก็ตาม แต่การใส่ในตู้ปลาที่มีระบบกรองชีวภาพก็ทำให้ระบบเสียหายไปได้พอสมควร แต่หากถ่ายน้ำออกไปให้มากที่สุดแบคทีเรียในระบบกรองจะสามารถกลับคืนมาได้เอง การใช้มาลาไคท์กรีนในตู้ที่มีแสงสว่างมาก ๆ หรือมีการให้อากาศสูง ๆ อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของมาลาไคท์กรีนลดลงได้ สำหรับท่านที่ชอบใช้น้ำที่ถ่ายทิ้งจากตู้ปลาไปรดต้นไม้ คงต้องงดกิจกรรมดังกล่าวในระหว่างที่มีการใช้มาลาไคท์กรีนเนื่องเพราะจะทำให้ดินเสียสมดุลย์ ต้นไม้อาจจะเป็นโรคขึ้นมาได้ครับ

สำหรับวิธีการใส่มาลาไคท์กรีนก็ควรจะใช้การละลายสารในขันน้ำก่อน แล้วจึงนำไปเทในตู้ให้ทั่วๆ ตู้ เพื่อจะได้ผสมกันเป็นมวลเดียวได้เร็วขึ้นไม่ระคายเคืองปลามากนัก และเมื่อจะต้องรักษา ก็ควรจะนำออกมารักษาในภาชนะอื่นที่มีขนาดเล็กลง หรือลดน้ำในตู้ลงให้ปลาอยู่แบบไม่ลำบากนัก แต่น้ำก็ไม่มากเกินไป เช่น ลดลงครึ่งตู้เพื่อจะได้ใช้ยาน้อยลงด้วย เช่น ตู้ 48 นิ้ว ใช้มาลาไคท์กรีน 3.5 ฝา เราก็ลดน้ำลงเหลือครึ่งนึง ก็ใช้แค่เกือบ ๆ 2 ฝา ขาดเหลือเล็กน้อยไม่เป็นไร เป็นต้น

สุดท้ายแล้วนะครับมาลาไคท์กรีนเป็นสารที่ดีตัวหนึ่ง ใช้รักษาได้ดีทีเดียวแต่ก็มีโทษพอตัว ในการใช้แต่ละครั้งก็ควรระวังทั้งตัวเราเอง และปลา ง่าย ๆ ใส่ถุงมือทุกครั้งที่ใช้สารมาลาไคท์กรีน

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงปลาหางนกยูง

สวัสดีครับสำหรับการเลี้ยงปลาหางนกยูงนับเป็นเรื่องง่ายมาก ปลาหางนกยูงจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อ หากผู้เลี้ยงหมั่นทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ไล่เศษอาหารที่ตกค้างออกจากบ่ออย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจกระทำทุก 2-3 วัน ต่อครั้งก็เป็นการเพียงพอ สำหรับผู้เลี้ยงทั่วไปที่เลี้ยงปลาสวยงามเป็นงานอดิเรก ควรใช้อาหารปลาสวยงามที่จำหน่ายตามร้านขายปลาสวยงาม โดยไม่จำเป็นต้องเลือกอาหารเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีราคาไม่แพงมากนักก็จะใช้เลี้ยงปลาได้ดี เพราะปลาหางนกยูงกินอาหารได้ง่ายและเจริญเติบโตได้ดี โดยควรให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็น ส่วนผู้ที่เลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อเพาะพันธุ์ปลาออกจำหน่าย จำเป็นต้องเลี้ยงปลาเป็นจำนวนมาก จะต้องพยายามลดต้นทุนการผลิต อาจเลือกใช้อาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงปลาดุกเล็ก ซึ่งมีราคาถูกและมีธาตุอาหารครบถ้วน นำมาใช้สำหรับเลี้ยงปลาก็จะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้อย่างดีจะใช้เวลาเลี้ยงปลาประมาณ 45-60 วันก็สามารถส่งจำหน่ายได้



....ร้าน ป.ปลา.ตา.กลม บางแสน จำหน่ายปลาสวยงาม อุปกรณ์เลี้ยงปลา และอาหารสำหรับเลี้ยงปลา....

สายพันธุ์ปลาหางนกยูง

สวัสดีครับหลังจากที่เราได้รู้จักกับประวัติของปลาหางนกยูงกันไปในบทความที่แล้ว ต่อไปเรามาดูสายพันธ์ของปลาหางนกยูงที่เราพบเห็นกันทั่วไปนั้น ว่ามีสายพันธ์อะไรกันบ้าง

l.สายพันธ์คอบร้า(Cobra)

ลำตัวมีสีน้ำเงิน ม่วง หรืออื่นๆ มีลวดลายเป็นแถบพาดขวาง พาดตามยาว หรือพาด เฉียงทั่วลำตัวตลอดถึงโคนหาง ลวดลายคล้ายลายหนังงู หางรูปสามเหลี่ยม(Delta tail) พัด(Fan tail) หรือบ่วง(Lyre tail)

สีสอดคล้องกับลำตัว

1.1 Yellow cobra



1.2 Red cobra



2.สายพันธุ์ทักซิโด้(Tuxedo)
ลักษณะครึ่งตัวด้านท้ายมีสีดำ หรือ สีน้ำเงินเข้ม ครีบหางมีหลากหลายแบบ ครีบหลังและครีบหางหนาใหญ่ มีสีและลวดลายเหมือนกัน มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป คือ German tuxedo (เยอรมัน) Neon tuxedo (สันหลังสีขาว สะท้อนแสง) Black tuxedo (ครีบหางสีดำ) Golden tuxedo (ครีบหางสีส้ม)



3.สายพันธุ์โมเสค(Mosaic)
พื้นลำตัวสีเทาอ่อน บริเวณด้านบนสีฟ้า หรือ เขียว อาจแซมด้วยสีแดง ชมพู หรือ ขาว ครีบหางมีหลากหลาย ครีบหลังขาวเรียบ หรือ ชมพูอ่อน หรืออาจมีจุด หรือ แต้มขนาดเล็ก มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป คือ Red-tailed Mosaic Santamaria Mosaic Blue-tailed Mosaic Ribbon Swallow-tailed Mosaic



4.สายพันธุ์กร๊าซ(Grass)
ลำตัวมีหลากสี ครีบหางมีจุด หรือแต้มเล็ก ๆ กระจาย แผ่ไปทั่งตามรัศมีของหางคล้ายดอกหญ้า มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป คือ Red Grass, Blue Grass, Yellow Grass, Golden Yellow Grass



....ร้าน ป.ปลา.ตา.กลม บางแสน จำหน่ายปลาสวยงาม อุปกรณ์เลี้ยงปลา และอาหารสำหรับเลี้ยงปลา....

ประวัติของปลาหางนกยูง

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ วันนี้ทางร้านของเรามีบทความเกี่ยวกับ ประวัติของปลาหางนกยูง ซึ่งเป็นปลาที่เรานิยมเลี้ยงกัน โดยเฉพาะน้อง ๆ หนู ๆ ทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะมีความสวยงาม เลี้ยงง่าย และราคาไม่แพงมากนัก ที่นี้เรามาทราบกับประวัติปลาหางนกยูงที่เราเลี้ยงกันอยู่ในบ้าน ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรกันดีกว่าครับ

ปลาหางนกยูงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แถบเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดส และ ในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด และ น้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับปลากินยุง (Mosquito Fish) ซึ่งเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ ทำให้สามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนน้อยๆได้ดี ในระยะเริ่มแรกนิยมใช้ปลากลุ่มนี้ในการนำไปช่วยกำจัดยุงลาย เนื่องจากมีคุณสมบัติที่พิเศษถึง 2 ประการ คือ

1. มีความอดทน เนื่องจากมีอวัยวะช่วยหายใจที่เรียก Labyrinth organ ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่เริ่มเน่าเสียซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำได้

2. มีความสามารถแพร่พันธุ์ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ปลาหางนกยูงได้ถูกนำเข้าไปทดลองเลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี .. 2451 และแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆในเขตร้อน เพื่อใช้ปราบยุงลายช่วยลดปัญหาเรื่องการระบาดของไข้มาลาเรีย โดยนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำขังต่างๆหรือแหล่งน้ำเสียที่มีตัวอ่อนของยุง ที่เรียกกันว่าลูกน้ำอยู่มากโดยไม่มีปลาชนิดอื่นเข้าไปอาศัยอยู่ได้ เนื่องจากมีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอ แต่สำหรับปลาหางนกยูงหรือที่เรียกว่าปลากินยุง จะสามารถใช้อวัยวะช่วยหายใจนำออกซิเจนจากอากาศมาใช้ จึงทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นอกจากนั้นยังเป็นปลาที่ชอบกินลูกน้ำ แล้วแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถควบคุมปริมาณลูกน้ำให้ลดลงได้ จึงเป็นการช่วยลดปริมาณยุงลงได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นจึงเริ่มพัฒนามาเป็นการเลี้ยงเพื่อความสวยงาม โดยนำปลาหางนกยูงที่มีความสวยงามจากประเทศเวเนซูเอลา บาร์บาดาส ทรินิแดด บราซิล และกิอานา เข้าไปดำเนินการเพาะพันธุ์และมีการคัดพันธุ์จนได้ปลาหางนกยูงที่มีความสวยงามหลายสายพันธุ์

....ร้าน ป.ปลา.ตา.กลม บางแสน จำหน่ายปลาสวยงาม อุปกรณ์เลี้ยงปลา และอาหารสำหรับเลี้ยงปลา....

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันปลาสวยงามแห่งชาติ 1-9 ต.ค. 2554




วันปลาสวยงามแห่งชาติ 1-9 ต.ค.54 นี้

บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกับ ชมรมผู้นิยมปลาสวยงาม ประเทศไทย ขอเชิญเข้าร่วมการประกวดปลาสวยง​ามชิงแชมป์ประเทศไทยประจำปี 2554
คนรักปลาสวยงามห้ามพลาด กับการกลับมาอีกครั้งของงาน วันปลาสวยงามแห่งชาติ ประจำปี 2554 พบกันวันที่ 1 - 9 ตุลาคม นี้ ที่ MCC HALL ชั้น 4 เดอะมอลล์งามวงศ์วาน โดย บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป ร่วมกับชมรมปลาสวยงามประเทศ ขอเชิญเข้าร่วมประกวดปลาสวยงามชิงแชมป์ประเทศไทย รางวัลรวมมูลค่ากว่า 800,000 บาท